About Herb for life

Gacha Gold

ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพืชตระกูลขิงมากกว่า1,500 ชนิด ที่เรารู้จักกันดีคือขิง ขมิ้น กระชายดำ ตั้งแต่โบราณ นอกจากจากนี้ยังนิยมใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค ผสมเหล้าเพื่อเป็นเครื่องดื่มชูกำลัง เพิ่มกลิ่นให้อาหารมารสชาดดี ดับคาวอาหารทะเล เป็นต้น จึงเป็นที่นิยมตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบันนี้ เราขอนำเสนอพืชตระกูลขิงที่เป็นรากเหง้าของสมุนไพรโบราณโดยใช้วิวัฒนาการ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ภายใต้แบนด์ Gacha Gold   Read more

  • กระชายดำ
  • กระชายขาว
  • ว่าน มหาเมฆ
service
Chuo-Create Group Company

กระชายดำ 黒ショウガ



ชื่อวิทยาศาสตร์: Kaempferia parviflora

ถิ่นกำเนิด:
       กระชายดำมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้หนาแน่นในแถบมาเลเซีย สุมาตรา เกาะบอร์เนียว อินโดจีน และในประเทศไทย และมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเอเชียเขตร้อน ในประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย และพม่า สำหรับประเทศไทยนั้นมีการปลูกกระชายดำมากได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ น่าน ตาก กาญจนบุรี และจังหวัดอื่นๆ ทางภาคเหนือ

ลักษณะ:
       เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นมีปุ่มปม ลักษณะคล้ายกระชาย แต่เนื้อในหัวเป็นสีม่วง เมื่อแก่สีจะเข้มขึ้นเรื่อย ๆ ผิวด้านนอกสีเหลือง ใบเดี่ยว แทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด สีขาวแต้มชมพู กระชายดำมีลำต้นอยู่ใต้ดิน (rhizome) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าหัว ลักษณะคล้ายขิง หรือขมิ้นแต่มีขนาดเล็กกว่า ใบใหญ่และมีสีเขียวเข้มกว่ากระชายทั่วไป ขนาดใบกว้างประมาณ 7 - 15 ซม. ยาว 30 - 35 ซม. ใบมีกลิ่นหอม ประกอบด้วยกาบใบมีสีแดงจาง ๆ และหนาอวบ ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 ซม.
ดอกออกจากยอด ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยง ดอกมีสีชมพูอ่อน ๆ ริมปากดอกสีขาว เส้าเกสรสีม่วง เกสรสีเหลือง กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันมีลักษณะเป็นรูปท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว เกสรตัวผู้จะเหมือนกับกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดของมันเป็นรูปปากแตรเกลี้ยงไม่มีขน หัวมีสีเข้ม แตกต่างกัน ตั้งแต่สีม่วงจาง ม่วงเข้ม และดำสนิท

สรรพคุณ:
       กระชายดำ , Thai black ginger หรือ, Thai ginseng เป็นสมุนไพรที่มีใช้มานาน เป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่เชื่อกันว่า มีสรรพคุณช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ สรรพคุณในตำรายาไทยของกระชายดำ ระบุว่าเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกาม เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
       จากการวิเคราะห์ส่วนประกอบของกระชายดำนั้น พบว่ามีส่วนประกอบที่เป็นประโยชน์ที่หลากหลาย เช่น น้ำมันหอมระเหย สารฟลาโวนอยด์ (flavonoids) กลุ่มฟลาโวน (flavones) กลุ่มสารแอนโทไซยานิน (antho-cyanins) และสารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds) อื่นๆ สมุนไพรกระชายดำ ยังมีสรรพคุณที่พิสูจน์ได้ในการลดไขมันอีกด้วย โดยในการศึกษาในชาวญี่ปุ่นที่น้ำหนักตัวเกิน (BMI>25) ที่มีอายุอยู่ในช่วง 20-65 ปี พบว่าการรับประทานสารสกัดจากกระชายดำ ช่วยลดไขมันบริเวณช่องท้อง (ไขมันในช่องท้องและไขมันใต้ผิวหนังบริเวณช่องท้อง) ได้ภายใน 12 สัปดาห์ โดยนอกเหนือจากช่วยลดไขมันหน้าท้องแล้ว การทดลองดังกล่าวยังช่วยลดไขมันและไตรกลีเซอร์ในเลือดอีกด้วย โดยปราศจากผลข้างเคียงทั้งในด้านร่างกาย ค่าผลเลือด หรือ ผลการวิเคราะห์ปัสสาวะต่างๆซึ่งจากอีกการทดลองหนึ่งได้ทำการทดสอบในชายวัย 21-29 ปี พบว่าการรับประทานสารสกัดกระชายดำ ช่วยเพิ่มค่าการเผาผลาญพลังงานของร่างกายได้หลังจากรับประทานสารสกัดจากกระชายดำไปเพียงแค่ 1 ครั้งกระชายดำ จึงเป็นสมุนไพรในการนำมาใช้เพื่อดูแลรูปร่างแบบปลอดภัยที่น่าสนใจ โดยปัจจุบันได้มีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมกระชายดำสำหรับลดน้ำหนักใน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไทย

กลับไปด้านบน

กระชาย クラチャイ



ชื่อวิทยาศาสตร์: Boesenbergia rotunda

ถิ่นกำเนิด:
       กระชาย หรือ ขิงจีน เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกเลี้ยงกันในประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะ:
       กระชายเป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า มีรากติดเป็นกระจุก เป็นที่สะสมอาหาร อวบน้ำ รูปทรงกระบอกปลายเรียวแหลม ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรียาว กว้าง 4.5 – 10 ซม. ยาว 15 – 30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ก้านใบยาว 7 – 25 ซม. กาบใบสีชมพู ดอก ออกเป็นช่อ ออกแทรกระหว่างกาบใบ ช่อดอกยาวประมาณ 5 ซม. มีใบประดับสีม่วงแดงเรียงทแยงกัน กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 3 แฉก ดอกที่ปลายช่อจะบานสวย กลีบดอกสีขาว หรือขาวอมชมพู ดอกบานทีละดอก มีลักษณะเป็นถุงแยกเป็น 2 กลีบ เกสรตัวผู้หมันด้านข้าง 2 อัน รูปรี สีขาวอมชมพู เกสรเพศผู้หมันที่มีลักษณะคล้ายกลีบปากขนาดใหญ่ สีชมพู ผล รูปรี เมื่อแก่แตกออกเป็น 3 ซีก

สรรพคุณ:
       เหง้ากระชายจะมีน้ำมันหอมระเหยและมีสารสำคัญหลายชนิดสะสมอยู่ซึ่งมีสรรพคุณดับกลิ่นคาวในอาหารมีฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ดีมีฤทธิ์ยับยั้งการต่อต้านเชื้อไวรัสHIV-1proteaseและต้านการอักเสบ สารสกดักระชายแสดงฤทธิ์ต้านจุลชีพและเชื้อราที่มีศักยภาพโดยการยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกเช่น Staphylococcus aureus,S. epidermidis และBacillus subtilis และยีสต์Candida albicans และยังพบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในเหง้าของกระชาย เช่น Pinocembrin,Pinostrobin และ Cardamonin
       สมุนไพรกระชาย มีสรรพคุณทางยานามากมาย จนได้ชื่อในวงการแพทย์แผนไทยว่าเป็น "โสมไทย" บำรุงกำลังและเสริมสมรรถภาพทางเพศ บำบัดโรคนกเขาไม่ขันหรือโรคอีด ช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุในร่างกาย กระชายเหลืองมีสรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน แน่นหน้าอก ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงกระดูก ช่วยทำให้กระดูกไม่เปราะบาง ช่วยบำรุงสมอง เพราะช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนกลางได้ดีมากขึ้น ช่วยปรับสมดุลของความดันโลหิตในร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิต แต่เมื่อความดันโลหิตต่ำก็จะช่วยทำให้ความดันเพิ่มขึ้นจนเป็นปกติ

กลับไปด้านบน

ว่าน มหาเมฆ マハメーク



ชื่อวิทยาศาสตร์: Curcuma aeruginosa

ถิ่นกำเนิด:
       พบขึ้นตามดินทราย ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ และในป่าราบทั่วไป มีถิ่นกำเนิด: อินโดจีนไปจนถึงมาเลเซียตะวันตก

ลักษณะ:
       ว่านมหาเมฆ เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มักจะพบตามดินทราย ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณและป่าราบทั่วทุกภาคของประเทศไทยเหง้า : มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อนหรือเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน หัวหรือเหง้าเมื่อเก็บไว้นานหลายปีจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง
ใบ : ใบจะแทงขึ้นมาจากเหง้าที่โคนใบ จะมีกาบใบสีม่วงอมเขียวเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ในหนึ่งต้นมีใบประมาณ 4 – 7 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาววงรี ปลายใบแหลม ตรงกลางใบจะมีสีม่วงแดง ดอกออกดอกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากเหง้าและมีกาบใบห่อหุ้มอยู่ ดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกกลมวงรี กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพูแดง มีประมาณ 20 กลีบ เรียงซ้อนกันเป็นชั้น บริเวณโคนกลีบดอกเป็นสีขาว

สรรพคุณ:
       1. ในเหง้าพบน้ำมันซึ่งมีสารที่ประกอบไปด้วย Curcumenol, Curdione, Curzerenone, Germacene, Isofrtungermacrene, Zedoarone และยังพบแป้ง เป็นต้น (สารที่พบจากเหง้าของว่านมหาเมฆ คล้ายกับสารที่พบในเหง้าของขมิ้นอ้อย แต่จะไม่พบสาร Cucurmin ซึ่งเป็นสารที่ให้สีเหลืองของขมิ้นอ้อย)
       2. น้ำมันจากเหง้าว่านมหาเมฆมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อBacillus inuza, Staphylococcus, เชื้ออหิวาต์ และเชื้อในลำไส้ใหญ่ได้หลายชนิด
       3. สารCurdione จากเหง้าว่านมหาเมฆมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli, Salmonella typhi, Klebsiella. Pneumoniae และ Stophylococcus aureus
       4. เมื่อนำสารที่สกัดได้จากเหง้ามาฉีดเข้าช่องท้องของหนูทดลองที่เป็นโรคมะเร็งในตับ หรือเป็นเนื้อร้าย 180 พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ แต่ถ้านำสารสกัดมาให้หนูทดลองดังกล่าวกิน พบว่าจะไม่มีผลในการรักษา
       5. เมื่อนำน้ำมันจากเหง้ามาให้คนหรือสัตว์กิน พบว่าจะมีฤทธิ์กระตุ้นกระเพาะและลำไส้ให้มีการขยับและบิดเคลื่อนไหวตัว ทำให้สามารถขับลมในกระเพาะและลำไส้ได้ อีกทั้งยังช่วยแก้อาการปวดกระเพาะและลำไส้ได้อีกด้วย
       6. สารสกัดชั้นน้ำยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HIV-1 และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HIV-1 protease (IC50 : 500 mcg/ml) (Otake et al.,1995)

กลับไปด้านบน

เปราะหอม プロ・ホーム



ชื่อวิทยาศาสตร์: Kaempferia galanga

ถิ่นกำเนิด:
       เปราะหอมเป็นพืชพื้นถิ่นที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียโดยมีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศอินเดีย ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาบสมุทรมลายู และชาว รวมไปถึงในจีนตอนใต้และไต้หวัน โดยมักพบในป่าไผ่ ป่าดิบ และป่าผลัดใบ สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค แต่พบได้มากทางภาคเหนือ

ลักษณะ:
       เปราะหอมจัดเป็นไม้ลงหัวหรือพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดินประเภทไรโซม (Rhizome) ลักษณะเป็นเหง้าแง่งกลมรูปไข่สีเหลืองอ่อนมีเยื่อบาง ๆ รูปสามเหลี่ยมหุ้มโคน เหง้าแก่สีน้ำตาล เนื้อในหัวสีขาวหรือขาวเหลือง มีสีเหลืองเข้มตามขอบนอกและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ข้ามปีหรือหลายปี ใบเป็นใบเดี่ยว แทงขึ้นมาจากหัวหรือเหง้าใต้ดินประมาณ 2-3 ใบ โดยใบอ่อนมีลักษณะม้วนเป็นกระบอกออกมาแล้วค่อยแผ่ราบบนหน้าดิน หรือวางตัวอยู่ในแนวราบเหนือพื้นดินเล็กน้อย เนื้อใบค่อนข้างหนา ลักษณะของใบเป็นรูปค่อนข้างกลมหรือเป็นรูปไข่ป้อม มีขนาดกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ส่วนโคนใบมนหรืออาจเว้าเล็กน้อย บางครั้งอาจพบว่าขอบใบมีสีแดงคล้ำ ๆ มีขนอ่อน ๆ อยู่บริเวณท้องใบ โดยท้องใบนั้นหากมีสีแดงจะเรียกว่าเปราะหอมแดง หากมีสีขาวจะเรียกว่าเปราะหอมขาว ส่วนก้านใบมีลักษณะเป็นกาบ มีความยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อ ซึ่งดอกตรงกลางระหว่างใบ โดยมีดอกย่อยได้ตั้งแต่ 6-10 ดอก แต่ดอกจะทยอยบานครั้งละ 1-2 ดอก ดอกมีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ลักษณะดอกมี 4 กลีบ 2 กลีบ บนมีสีขาว 2 กลีบ ล่างแต้มด้วยสีม่วงเหลือง ผลเป็นแบบผลแห้งแตกได้ ภายในมีเมล็ดกลม 12 เมล็ด

สรรพคุณ:
       เหง้าของเปราะหอมพบสารกลุ่ม Cinnamic acid derivatives ได้แก่ ethyl cinnamate พบสาร กลุ่ม Sulfonated diarylheptanoids ได้แก่ kaempsulfonic acid A และ kaempsulfonic acid B ส่วน essential oil ที่สกัดจากเหง้า พบสารกลุ่ม Cinnamic acid derivatives, Monoterpenoids และ Hydrocarbons นอกจากนี้ยังพบสารกลุ่ม Monoterpenoids อื่นๆ ได้แก่ 3-carene, camphene, borneol, cineol สารกลุ่ม Cinnamic acid derivatives ได้แก่ cinnamaldehyde สารกลุ่ม Flavonoids ได้แก่ kaempferol และ kaempferide การทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่าสารสกัดเอทานอลจากเหง้ามี ฤทธิ์ช่วยการสมานแผล มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ช่วยให้หลอดเลือดคลายตัว และฤทธิ์กดระบบประสาท ส่วนกลาง ส่วนสารสกัด80%เมทานอลจากส่วนเหง้ามีฤทธิ์ลดความอ้วนโดยการยับยั้ง cannabinoid CB1 receptor และมีฤทธิ์ฆ่าตัวอ่อนของยุงได้หลายชนิด ต ารายาระบุสรรพคุณของเหง้าใต้ดิน รสร้อนหอม ใช้ขับ ลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้เจ็บคอ ใช้สระล้างศีรษะ เพื่อป้องกันรังแค หรือใช้ต าพอกฝี ช่วยลดอาการอักเสบ

กลับไปด้านบน

ข่า カー



ชื่อวิทยาศาสตร์: Alpinia galanga

ถิ่นกำเนิด:
       สำหรับข่า เป็นพืชพื้นเมืองของไทยอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ทุกภาคของประเทศโดยมีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเขตร้อนในเอเชีย สามารถพบได้ตามประเทศ ศรีลังกา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย และไทย ซึ่งคนไทยนิยมใช้ข่ามาตั้งแต่อดีตแล้ว โดยการนำมาประกอบอาหารและยังใช้เป็นสมุนไพรอีกด้วย

ลักษณะ:
       ข่าเป็นไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตรอยู่เหนือพื้นดิน เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน เนื้อในสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ ทรงกลม

สรรพคุณ:
       ข่ามีสรรพคุณทางยา เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด เช่น cineole, camphor และ eugenol ซึ่งมีฤทธิ์ขับลม มีและฤทธิ์ในการรักษาหลายรูปแบบ เช่น ลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก ลดการอักเสบ และลดการบวม (anti-inflammmatory) ในข่ายังพบ 1'-acetoxy chavicol acetate และ 1'-acetoxy eugenol acetate สารนี้ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและแบคทีเรียได้

กลับไปด้านบน

ขมิ้นอ้อย カミンオイ


ชื่อวิทยาศาสตร์: Curcuma zedoaria

ถิ่นกำเนิด:
       ขมิ้นอ้อยเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียอีกชนิดหนึ่ง โดยเชื่อกันว่าขมิ้นอ้อยมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะประเทศต่างๆในแถบคาบสมุทรอินโดจีน เช่น ไทย พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเชีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น ต่อมาได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังอินเดีย,เวียดนาม,จีน และไต้หวัน สำหรับในประเทศไทยขมิ้นอ้อยเป็นที่รู้จักดีตั้งแต่ในอดีตแล้วเพราะได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรและด้านอาหารจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ลักษณะ:
       เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นใต้ดินประเภทไรโซม (Rhizome) ลักษณะเป็นเหง้าแง่งขนาดใหญ่ค่อนข้างกลมปลายเรียวตั้งตรง มีแง่งนิ้วแตกออก 2 ข้าง เป็นข้อปล้องสั้น ๆ เห็นข้อชัดเจน เหง้าแก่สีน้ำตาลอมส้ม เจริญได้ดีในฤดูฝนและโทรมแห้งตายในฤดูหนาว ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ โคนใบสอบเรียวมีกลิ่นหอมฉุนคล้ายมะตูมอ่อนเช่นเดียวกับขมิ้นชันแต่กลิ่นจะออกเปรี้ยวมากกว่า ลักษณะดอกเป็นช่อเชิงลดตั้งตรงพุ่งขึ้นมาจากกลางลำต้นสีขาวปลายชมพู รากส่วนใหญ่จะหนาแน่นบริเวณโคนลำต้น พบกระจายอยู่ทั่วไป

สรรพคุณ:
       สารที่พบในเหง้าของขมิ้นอ้อย ได้แก่ Curcumin, Curdione, Curzerene, Furanodiene, Furanodienone, Zederone, Zedoarone, แป้ง และน้ำมันระเหยประมาณ 1-1.5% เป็นต้น น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากขมิ้นอ้อยสามารต่อต้านเชื้อ Staphylococcus หรือเชื้อในลำไส้ใหญ่ Columbacillus หรือเชื้ออหิวาต์ได้
ขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราได้ถึง 11 ชนิด และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้อีก 4 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น กลาก ชันนะตุ เชื้อราที่ผิวหนัง ที่เล็บ ที่ซอกนิ้วเท้า และเมื่อนำสารสกัดที่ได้จากขมิ้นอ้อยมาฉีดเข้าในสัตว์ทดลอง จะพบว่าสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ต่อต้านเนื้องอกหรือมะเร็งปากมดลูก และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งหรือเนื้องอกไม่ให้มีการเติบโตหรือขยายตัวได้อีกด้วย

กลับไปด้านบน

ว่านชักมดลูก ワンチャックモッドルック



ชื่อวิทยาศาสตร์: Curcuma zanthorrhiza

ถิ่นกำเนิด:
       ว่านชักมดลูกชนิด xanthorrhiza มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเกาะบาหลี เกาะชวา กระจายพันธุ์มาจนถึงมาเลเซียไทย และอินเดีย ส่วนชนิด comosa นั้น เป็นพืชพื้นถิ่นของไทย และนิยมปลูกกันโดยทั่วไป แหล่งที่ปลูกที่มีชื่อเสียง คือ ในจังหวัดเลยและจังหวัดเพชรบูรณ์ และในธรรมชาติพื้นที่ที่พบ มากในป่าเบญจพรรณทั่วไป โดยชนิด comosa ของไทยนั้น สามารถแยกชนิดได้เป็น ว่านชักมดลูกตัวเมีย (Curcuma comosa) และว่านชักมดลูกตัวผู้ (Curcuma latifolia)

ลักษณะ:
       ว่านชักมดลูก จัดเป็นพืชล้มลุกปีเดียว อยู่ในกลุ่มของขิง ข่า โดยมีส่วนเหง้าหัวหรือลำต้นแท้อยู่ใต้ดิน เหง้ามีสีส้มอ่อนหรือส้มออกแดง ว่านชักมดลูก มีลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะรียาว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 15 – 20 ซม. ยาวประมาณ 40 – 100 ซม. ใบมองเห็นเป็นแถบยาวของเส้นใบอย่างชัดเจน แถบเส้นใบกว้างประมาณ 0.5 – 1 ซม. โดยต้นที่ใบมีเส้นกลางใบเป็นสีม่วงแดง เรียกว่า ต้นว่านชักมดลูกตัวผู้ ส่วนต้นที่ใบมีสีเส้นกลางใบเป็นสีเขียว เรียกว่า ว่านชักมดลูกตัวเมีย ดอกว่านชักมดลูก มีลักษณะเป็นช่อ ไม่รวมกันเป็นกระจุก แยกออกในทิศที่แตกต่างกันบนก้านดอกประกอบด้วยก้านช่อดอกยาวประมาณ 15 – 20 ซม. มีใบประดับสีชมพูอ่อน กลีบรองดอกสีแดงสด และเมื่อเจริญเต็มที่จะมีสีเหลืองคล้ายดอกขมิ้นชัน ว่านชักมดลูก จะเริ่มแทงใบในช่วงต้นฝน มีนาคม – เมษายน และจะเจริญเติบโตจนถึงฤดูหนาว เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ต้นจะเริ่มแก่เหลือง และเหี่ยวพับลงจนเหลือแต่ส่วนหัวที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งจะนิยมเก็บหัวมาใช้ประโยชน์ในช่วงนี้จนถึงก่อนช่วงที่แทงใบใหม่ ในการเก็บผลผลิตนั้น ต้องเก็บในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูแล้งโดยสังเกตได้จากหากว่านชักมดลูกมีใบเหี่ยวแห้งหมดแล้วก็สามารถเก็บเกี่ยวได้

สรรพคุณ:
       ว่านชักมดลูกตัวเมียพบสารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจน จากการทดลองในสัตว์ ตำรายาไทยใช้รากหรือเหง้าของว่านชักมดลูก แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้มดลูกพิการ ทำให้ประจำเดือนมาตามปกติทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ช่วยย่อย อาหาร แก้ริดสีดวงทวาร แก้เจ็บปวดเนื่องจากกระษัยกล่อนลงฝัก นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก และกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูก เสริมความหนาแน่นของเซลล์กระดูก จึงมีแนวโน้มที่ดีที่จะใช้ป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุนในขั้นแรกเมื่อเริ่มเข้าสู่ภาวะวัยทองได้และช่วยป้องกันความผิดปกติของ หลอดเลือดจากภาวะขาดฮอร์โมนทำให้การทำงานของหลอดเลือดให้เป็นปกติช่วยลดความเสี่ยงการเป็น โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงช่วยปกป้องเซลล์ประสาท ชะลอการจดจำถดถอยอันเนื่องมาจากการ ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน รวมถึงลดไขมันในเลือดและป้องกันการเกิดโรคอ้วนลงพุง

กลับไปด้านบน

ไพล プライ



ชื่อวิทยาศาสตร์: Zingiber montanum

ถิ่นกำเนิด:
       ไพลพรรณไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียแถบประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พืชชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยนั้นพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ แต่นิยมปลูกกันมากในแถบจังหวัด กาญจนบุรี,สุพรรณบุรี,ปราจีนบุรีและสระแก้ว

ลักษณะ:
       ต้นไพล ลักษณะไพลเป็นไม้ล้มลุกมีความสูงประมาณ 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เปลือกมีสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อด้านในมีสีเหลืองถึงสีเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ โดยจะประกอบไปด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกันอยู่ เหง้าไพลสดฉ่ำน้ำ รสฝาด เอียด ร้อนซ่า มีกลิ่นเฉพาะ ส่วนเหง้าไพลแก่สดและแห้งจะมีรสเผ็ดเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด แง่ง หรือเหง้า แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้ส่วนของเหง้าเป็นท่อนพันธุ์ในการเพาะปลูก พรรณไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียแถบประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ปลูกกันมากในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว ใบไพล ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปหอก ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ กว้างประมาณ 3.5-5.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 18-35 เซนติเมตร ดอกไพล ออกดอกเป็นช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกมีสีนวล มีใบประดับสีม่วง

สรรพคุณ:
       เหง้า พบสารกลุ่ม arylbutenoid คือ cassumunarin สารสีเหลือง เป็นสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ที่พบ ได้แก่ cassumunin A-C, curcumin,น้ำมันหอมระเหยที่กลั่นจากเหง้ามี sabinene เป็นองค์ประกอบหลักประมาณ 50% terpene-4-ol ประมาณ 20% triquinacene 1, 4-bis (methoxy), (Z)-ocimene และสารอื่น ๆ พบสารสเตียรอยด์ beta-sitosterol สาร 4-(4-hydroxy-1-butenyl) veratrole มีฤทธิ์ขยายหลอดลม เหง้า ขับลมในลำไส้แก้จุกเสียด ขับประจำเดือน มีฤทธิ์ระบายอ่อน ๆ แก้บิด สมานลำไส้ ทาแก้เคล็ดยอก ฟกบวม เส้นตึง เมื่อย เหน็บชาสมานแผล

กลับไปด้านบน

ไพลดำ プライダッム


ชื่อวิทยาศาสตร์: Zingiber ottensii Valeton

ถิ่นกำเนิด:
       ต้นว่านไพลดำ มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะ:
       ต้นว่านไพลดำ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ขึ้นเป็นกอ ความสูงของต้นประมาณ 1.5-3 เมตร และอาจสูงได้ถึง 5 เมตร เหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อภายในเหง้าเป็นสีม่วงจาง ๆ หรือสีม่วงอมน้ำตาล มีกลิ่นฉุนร้อนคล้ายไพล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ต้องใช้ดินที่มีสีดำในการปลูก ลำต้นมีสีดำอมม่วง ออกดอกเป็นช่อจากโคนต้นแทงขึ้นมาจากเหง้าใต้ดิน ผิวเหง้าเป็นมัน ไพลดำที่มีอายุ 1 ปี หัวข้างในไม่เป็นสีดำ แต่ถ้าที่มีอายุมากว่า 3 ปีขึ้นไป เนื้อภายในเหง้าจะเป็นสีม่วงอมน้ำตาล

สรรพคุณ:
       สรรพคุณของไพลดำเป็นยาอายุวัฒนะบำรุงร่างกาย รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ แก้เหน็บชา แก้อาการช้ำใน ช่วยสมานแผล สลายลิ่มเลือดที่แข็งตัว ขับประจำเดือน สามารถนำไปประกอบอาหารเป็นเครื่องแกงได้ หรือนำไปใส่ในต้มยำแทนข่าได้ๆ ใช้เหง้านำไปโขลกกรองเอาเฉพาะน้ำมาดื่ม หรือบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาลูกกลอน รับประทานเช้า-เย็นครั้งละ 2-3 เม็ด ช่วยเจริญอาหาร

Home | กลับไปด้านบน

Contact Info

You can contact or visit us during working time. 8.30-17.30


Siam C.C.R.T. Ltd. Company 54 BB Building 9th floor Unit 3908 Sukhumvit 21 Road Klongtoey-NuaWattana Bangkok 10110

(+66)02-014-3940

(+66)02-014-3940

http://siamccrt.main.jp/

waralee-p@ccrt.co.jp

Line Contact

Linecontact